head

ผิวและคราบ

   ลักษณะผิวและคราบ  เมื่อจะกล่าวถึงเรื่องของผิวและคราบ เป็นสิ่งที่ทุกคนในวงการพระเครื่องสายหลวงพ่อทวดวัดพระสิงห์ ต่างก็ชื่นชมหลงใหลและยอมรับว่า มีหลากหลายลักษณะความงามที่แตกต่างกันไปน่าศึกษาและเก็บสะสม และเป็นเอกลัษณ์เฉพาะของวัดพระสิงห์เท่านั้น เช่น ผิวคราบ  ดินปลวก ผิวคราบฝ้าจุดราขาว คล้ายจุด ลายตุ๊กแก คราบผงฝุ่นฝ้าเกาะบนผิวพระคล้ายผุ่น ทรายแดง และบางองค์ดูคล้าย สนิมน้ำว่าน 
  จากลักษณะดังกล่าวถือว่าเป็นเสน่ห์ความงามพิเศษ ซึ่งยังมีลักษณะความงามที่เป็นหลักๆ คือ พิมพ์ทรง ฟอร์ม บล็อก ของพระที่มีหลากหลาย ความงามของเนื้อมวลสารว่านต่างๆที่มองเห็นได้ชัดเจนแม้ตาเปล่า  และเรื่องราวประวัติความเป็นมาที่ถือว่ามีเสน่ห์น่าเลื่อมใสศรัทธา โดยเฉพาะเรื่องราวของพระอาจารย์ทิมที่เดินทางมาเยือนเชียงใหม่
  จากสิ่งต่างๆที่ได้กล่าวมานี้ ไม่ได้หมายความว่าพระทุกองค์จะต้องมีลักษณะเช่นนั้นเสมอไปทุกองค์ ยังมีพระบางองค์ที่ไม่เป็นดังที่กล่าวมา แต่ก็เป็นพระแท้สร้างพร้อมกัน 




   เหตุผลหลักๆในเรื่องของสภาพผิวและคราบที่หลวงพ่อทวดวัดพระสิงห์ต่างไปจากวัดอื่นๆนั้นคือ เรื่องของระยะเวลา สภาพสิ่งแวดล้อม เรื่องของอุณหภูมิ ความชื้น ภาชนะที่เก็บรักษาพระที่ไม่เหมือนกัน เช่นกล่องกระดาษ กระถังหรือปีบ ถุงผ้าหรือถุงพลาสติกเป็นต้น  และยังมีเรื่องของสัตว์หรือแมลงต่างๆที่เข้ามามีส่วนทำให้สภาพพระเปลี่ยนแปลง เช่นการกัดแทะของปลวก มอด มด หนู สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่มีผลต่อผิวคราบที่เกิดขึ้นบนองค์พระทั้งสิ้น   



    หลวงพ่อทวดวัดพระสิงห์ เป็นพระเครื่องที่ถูกเก็บรักษาไว้ในกุฏิ"ตึกการรถไฟ"เป็นเก่าที่ถูกปิดการใช้งานมายาวนานเกือบยี่สิบปี ภายในอากาศไม่ถ่ายเททำให้ร้อนและอับชื้น สภาพหลังคา ผุกร่อนรั่วซึม น้ำฝนไหลเข้ามาได้ตลอดเวลา ปลวก แมลง หนู เข้ามากัดกินข้าวของที่เก็บอยู่ภายในรวมทั้งพระเครื่องและวัตถุมงคลต่างๆ พระบางจำนวนถูกเก็บไว้ในกล่องลังกระดาษเก่าๆ บางจำนวนเก็บอยู่ในปี๊บหรือกระถังสังกะสีที่ผุกร่อนจากสนิมกัดกิน บางจำนวนหล่นกระจัดกระจายเรี่ยรายอยู่บนพื้น 
  ดังนั้นเมื่อเวลาผ่านไปนานๆผิวและคราบของพระจึงออกมามีลักษณะแตกต่างกันไป ดูมีเสน่ห์หลากหลายแปลกตา แลดูเข้มขลังน่าเลื่อมใส เหล่านี้เป็นเอกลักษณะแห่งเดียวที่ไม่เหมือนที่ใด 

 ภายในกุฏิ ตึกการรถไฟ ขณะกำลังจะบูรณะซ่อมแซม

ด้านหน้ากุฏิ ตึกการรถไฟ

ด้านหลังกุฏิ ตึกการรถไฟ ติดกับสระน้ำ

ตัวอย่างลักษณะพระที่นำออกมาจากกุฏิ ตึกการรถไฟ
 
 

 
 




  ซึ่งนอกจากผิวคราบที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติแล้ว ภายหลังยังมีการนำพระมาปิดทองคำเปลว หรือทาสีทองบรอนซ์ ตามแบบความเชื่อและศรัทธาของเจ้าของพระ โดยทองจะมีทั้งที่พึ่งทำใหม่ และทำมานานตั้งแต่ยุคต้นๆ ซึ่งเราสามารถพิจารณาดูได้จากอายุความเก่าและลักษณะของเนื้อทอง..





*ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของพระทุกองค์มา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ*

************************************ THEEND **************************************


No comments:

Post a Comment